พระเครื่อง เครื่องรางมหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระเครื่องยอดนิยม วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ โชคลาภค้าขาย เครื่องรางความรัก
โทรศัพท์ : 092 315 5565

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งพระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และ การัณฑวยูหสูตฺร

คำว่าอวโลกิเตศวรมาจากคำสันสกฤตสองคำคือ “อวโลกิต” กับ “อิศวร” แปลได้ว่าผู้เป็นใหญ่ที่เฝ้ามองจากเบื้องบน หรือพระผู้ทัศนาดูโลก ซึ่งหมายถึงเฝ้าดูแลสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์นั่นเอง พระโพธิสัตว์องค์นี้ทรงเป็นสมันตมุข คือ ปรากฏพระพักตร์อยู่ทุกทิศอาจแลเห็นทั้งหมด ทรงเป็นผู้ที่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออาจจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้ แต่ทรงยับยั้งไว้เนื่องจากความกรุณาสงสารต่อสรรพสัตว์ นอกจากนี้นักปราชญ์พุทธศาสนาบางท่านยังได้เสนอความเห็นว่า คำว่า “อิศวร” เป็นเสมือนตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ จึงถือได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตว์พระองค์อื่นหามีไม่ อันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้

พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ในพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่าหมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีนเป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงแต่ "กวนอิม" เท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกันกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเอง

พระไตรปิฎกภาษาบาลีของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไม่มีปรากฏเรื่องราวหรือแม้แต่พระนามของพระอวโลกิเตศวรอยู่เลย ทว่าในส่วนของนิกายมหายานแล้ว พระอวโลกิเตศวรมีบทบาทปรากฏอยู่มากในพระสูตรสำคัญ ๆ และยังมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรมหายานว่าพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังได้เคยตรัสสนทนาธรรมกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้อยู่บ่อยครั้งทีเดียว ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น ได้ยกย่องพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่าเป็นพระผู้ได้รับธรรมจักรมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และเป็นผู้นำในการรักษาพระพุทธศาสนาและหมุนธรรมจักรต่อไป

การอุบัติของพระอวโลกิเตศวรนี้สันนิษฐานว่ามีขึ้นภายหลังการเกิดนิกายมหายานขึ้นแล้วในราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 ภายหลังพุทธปรินิพพาน ซึ่งเมื่อตรวจสอบจากวรรณคดีสันสกฤตยุคต้น ๆ ของมหายานอย่าง ชาดกมาลา ทิวยาวทาน หรือลลิตวิสตระ ก็ยังไม่ปรากฏนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แต่อย่างใด แต่มีปรากฏขึ้นครั้งแรกพร้อม ๆ กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ในพระสูตรปรัชญาปารมิตาซึ่งถือว่าเป็นพระสูตรมหายานรุ่นเก่าที่สุด และในพระสูตรรุ่นต่อ ๆ มาก็ได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ปรากฏขึ้นมากมาย

พระสูตรมหายานกล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรประทับอยู่ ณ สุขาวดีพุทธเกษตร คอยช่วยพระอมิตาภพุทธะโปรดสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ และเนื่องจากเป็นพระธยานิโพธิสัตว์จึงมีความเป็นมาอันยาวนานสุดจะคาดคำนวณได้ นับแต่สมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้นมาก็ทรงได้โปรดสัตว์มาเป็นลำดับจนถึงบัดนี้ อันเป็นกาลสมัยขององค์พระสมณโคดมศากยมุนีพุทธเจ้า ก็เป็นระยะเวลาเนิ่นนานสุดจะพรรณนา ใน กรุณาปุณฑริกสูตร อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรเป็นพระธรรมกายโพธิสัตว์ สูงกว่าพระโพธิสัตว์สามัญอื่น ๆ และเป็นเอกชาติปฏิพัทธะเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์อารยเมตตรัย กล่าวคือเป็นผู้ที่ยังข้องอยู่กับการเกิดอีกเพียงชาติเดียวก็จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ กล่าวกันว่าพระอวโลกิเตศวรจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายหลังจากการดับขันธปรินิพพานของพระอมิตาภะ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป ณ แดนสุขาวดี

นอกจากนี้ในพระสูตรมหายานอื่น ๆ ยังปรากฏว่ามีการอธิบายต่างออกไปอีก กล่าวคือ บางพระสูตรกล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นั้นแท้จริงแล้วคืออวตารภาคหนึ่งของพระอดีตพุทธเจ้า ที่ได้ทรงบรรลุพุทธภูมิเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะแล้วในอดีตกาลอันยาวไกล ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าของเรา แต่ด้วยพระมหากรุณาที่เล็งเห็นสรรพสัตว์ยังตกอยู่ในโมหะอวิชชา ทำให้ต้องทนทุกข์อยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏยากจะหลุดพ้นไปได้ จึงทรงแบ่งภาคมาเป็นพระอวโลกิเตศวร เพื่อโปรดปวงสัตว์ทั้งหลายให้เห็นธรรมพ้นทุกข์ด้วยพระเมตตากรุณา ในบางแห่งก็กล่าวว่าพระอวโลกิเตศวรเป็นพุทธโอรสของพระอมิตาภะที่ทรงบันดาลด้วยอานุภาพพุทธาภินิหาริย์ให้อุบัติขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่โลก แต่ทางฝ่ายทิเบตเชื่อว่าพระอวโลกิเตศวรอุบัติขึ้นมาพร้อม ๆ กับพระนางตาราด้วยอานุภาพของพระอมิตาภพุทธ จากแสงสว่าง (บางแห่งว่าเป็นน้ำพระเนตรจากความกรุณาสงสารสรรพสัตว์) ที่เปล่งออกมาจากพระเนตรเบื้องขวาของพระอมิตาภะได้บังเกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรประทับบนดอกบัวที่ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กับมนตร์ โอม มณี ปัทเม หูม ส่วนแสงจากพระเนตรเบื้องซ้ายก่อให้เกิดพระนางตาราโพธิสัตว์ อย่างไรก็ตาม ในพระสูตรอื่นบางแห่งก็มีกล่าวว่าแท้จริงแล้วพระอวโลกิเตศวรก็คือภาคหนึ่งขององค์พระอมิตาภะนั่นเอง

ภาพเขียนหรือรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรเริ่มแรกนิยมสร้างเป็นรูปบุรุษหนุ่ม ทรงเครื่องอลังการวิภูษิตาภรณ์อย่างเจ้าชายอินเดียโบราณ และมีอยู่หลายปางด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญคือศิราภรณ์บนพระเศียรพระอวโลกิเตศวรจะต้องมีรูปของพระอมิตาภะในปางสมาธิ หากเป็นปางที่มีหลายเศียร เศียรบนสุดจะเป็นเศียรพระอมิตาภะ นับเป็นข้อสังเกตในด้านปฏิมากรรมของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ ส่วนดอกบัวอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร คือ บัวสีชมพู ขณะที่สีขาวคือบัวของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เท่านั้น และด้วยดอกบัวสีชมพูในตระกูลปัทมะนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่าปัทมปาณีโพธิสัตว์

เมื่อพระพุทธศาสนามหายานได้เข้าสู่ประเทศจีนในช่วงแรกคือสมัยก่อนราชวงศ์ถัง ในยุคนั้นรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรยังสร้างเป็นรูปบุรุษตามแบบพุทธศิลป์ของอินเดีย หากในกาลต่อมาช่างชาวจีนได้คิดสร้างเป็นรูปสตรีเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร สะท้อนถึงความรู้สึกและความเชื่อของประชาชนพื้นถิ่นที่ห่างไกลแม่แบบซึ่งมาจากอินเดีย จนอาจจะเรียกได้ว่ากวนอิมในรูปลักษณ์ของสตรีเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจีน และแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ กระทั่งแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ทั้งนี้เพราะรูปลักษณ์ของฝ่ายหญิงแทนค่าในเรื่องความเมตตากรุณาได้ดี ในขณะที่รูปลักษณ์อย่างบุรุษเพศจะสะท้อนเรื่องคุณธรรมมากกว่าความเมตตา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยังเกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นก็พลอยสร้างรูปพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีตามแบบอย่างประเทศจีนไปด้วย

ปกติ ทางมหายานเชื่อว่าพระอวโลกิเตศวรหรือพระแม่กวนอิมจะทรงแจกันสีเขียว บรรจุน้ำทิพย์อยู่ และกิ่งหลิว ทางจีนบอกว่าจะมีปางทั้งหมด 84 ปาง บ้างก็มี 88 ปาง ขณะทางธิเบต มีพระกายสีขาว 4 กร คือ ทรงลูกประคำ ทรงดอกไม้ และอีก 2 กร ทรงลูกวงรีสีน้ำเงินด้วย รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือสรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัตถ์พันเนตร

ข้อมูลโดย :
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- พระพุทธรูปและพุทธศิลป์

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร



พระเครื่องยอดนิยม วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ โชคลาภค้าขาย

โทรศัพท์ : 092 315 5565