พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
พระพุทธรูปปางปราบหรือโปรดพญาชมพูบดี (Jambupati Buddha) เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์ หรือเรียกอีกอย่างว่าปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
ตำนานพระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์:
ในปฐมโพธิกาล มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพญาชมพูบดี ครองเมืองปัญจาลนคร พญาชมพูบดีเป็นผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความต้องการที่จะมีเดชานุภาพยิ่งกว่ากษัตริย์ทั้งหมดในชมพูทวีป พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั่งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีมีความริษยาต่อพระเจ้าพิมพิสารเป็นอันมาก เพราะพระเจ้าพิมพิสารทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ พญาชมพูบดีจึงมารุกรานข่มเหงพระเจ้าพิมพิสารแต่ก็ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยพระเจ้าพิมพิสารหนีไปพึ่งพระบารมีและพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่าพญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้และมีทิฏฐิมานะเบาบางลงประกอบกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระพุทธองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าราชาธิราช จักรพรรดิทรงมงกุฎพร้อมเครื่องราชาภรณ์ที่งดงามดุจท้าวมหาพรหม ขึ้นประทับบนรัตนบัลลังก์ในท่ามกลางมหาอำมาตย์ราชเสนาบดีล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวันวิหารให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น พญาชมพูบดีตกตะลึงในความวิจิตรงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระพุทธองค์ทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่พญาชมพูบดีก็ไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้ให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ ให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์
จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมและทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้พระยาชมพูบดีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ทรงจาตุปาริสุทธิศีลในพระพุทธศาสนา
ความเชื่อและคตินิยม พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ :
เป็นพระพุทธรูปประจำปีกุน
ข้อมูลโดย :
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- พุทธประวัติ ตอน ทรงแก้ทิฏฐิมานะ ของพญามหาชมพูบดี โพสท์ในบอร์ดพันธ์ทิพย์ กระทู้ที่ K1641126 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2545
- เรียบเรียงจากหนังสือ เปิดตำนานพระพุทธรูป 12 นักษัตร โดย Dr. J
พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
พระพุทธรูปปางปราบพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เครื่องรางความรัก เมตตามหานิยม-มหาเสน่ห์ โชคลาภค้าขาย View My Stats