พระเครื่อง เครื่องรางมหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

พระเครื่องยอดนิยม วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ โชคลาภค้าขาย เครื่องรางความรัก
โทรศัพท์ : 092 315 5565

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

พระกริ่งรุ่นแรก หลวงพ่อสาย วัดตะเคียนราม รุ่นผ้าป่า ปี ๒๔๔๗

พระกริ่ง อันเป็นนามเรียกพระหล่อโลหะ ขนาดเล็กที่เขย่าแล้วมีเสียงกรุ๊ก กริ๊กๆ ซึ่งปัจจุบันพบเห็น บูชากันได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับประวัติการสร้างพระกริ่งนั้น ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ มีประวัติการสร้างพระกริ่งมายาวนานพอสมควร และพระกริ่งอันลือชื่อของประเทศไทยนั้น จากจุดกำเนิดแห่งเดียวและได้แยก แตกสายออกไป สร้างพระกริ่งกันหลายวัด หลายสำนัก ที่โด่งดังคือ 
๑. วัดบวรนิเวศวิหาร 
๒. วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส (วัดสามปลื้ม) 
๓. วัดสุทัศน์เทพวราราม

ที่มาของพระกริ่ง
รูปแบบองค์พระกริ่งมาตรฐาน มีพระพุทธลักษณะประทับนั่งบนกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย ปางมารวิชัย เพียงแต่บนพระหัตถ์ซ้ายจะปรากฎหม้อยาบ้าง วัชระบ้าง ซึ่งองค์พระกริ่งนี้ได้ถูกจำลองจาก "พระไภสัชคุรุ" เป็น พระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาลทั้งนี้นิกายมหายานได้เผยแพร่สู่ดินแดนธิเบต จีน และกัมพูชา จึงมีคติสร้างพระกริ่งเพื่อทำการสักการะบูชา

พระกริ่งในประเทศไทย
พระกริ่งในประเทศไทย นั้นต้องยอมรับว่า เจ้าตำรับการสร้างพระกริ่งในปัจจุบันนี้ ต้องยกให้วัดสุทัศน์เทพวราราม เนื่องจากมีชื่อเสียงโด่งดังและมีประวัติการสร้างพระกริ่งมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นต้นมา 

แต่ถ้าจะยกย่องให้พระกริ่งองค์แรก ที่หล่อขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้แก่ วัดบวรนิเวศ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นมาและเรียกกันโดยสามัญว่า “พระกริ่งปวเรศ”

พระกริ่งชินบัญชร เสริมดวงมหามงคล รุ่นแรก หลวงพ่อสุพจน์ วัดห้วงพัฒนา

สำหรับตำราการสร้างพระกริ่งในประเทศไทยพบดังนี้ว่าตำราสร้างพระกริ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระนพระชัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาสสมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้นพรมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี

พระกริ่งปวเรศ
เป็นสมัญญานามของพระกริ่งที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้น ทราบกันมาว่า ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายที่ทรงคุ้นเคยสนิทสนม และ เจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน ๓๐ องค์ ทรงสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะ คว้านฐาน บรรจุเม็ดกริ่ง ปิดทับด้วยแผ่นทองแดง ซึ่งประวัติ พิธีการสร้าง ไม่มีจดบันทึกไว้ เป็นเพียงจากคำบอกเล่าและอ้างอิงกัน ดังเช่น

กรมหลวงวชิรญาณวงศ์แห่งวัดบวรฯ เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า "เท่าที่ฉันได้ยินมานั้น สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ท่านทรงสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง มีจำนวนน้อยมากน่าจะไม่เกิน 30 องค์ ต่อมาได้ประทานให้หลวงชำนาญเลขา(หุ่น) ผู้ใกล้ชิดพระองค์นำไปจัดสร้างขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่หลวงชำนาญเอาไปเทนั้น จะมากน้อยเท่าใดฉันไม่ได้ยินเขาเล่ากัน"

การสร้างพระกริ่งปวเรศของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯนั้น น่าจะเนื่องจากว่าท่านได้รับการถวายพระกริ่งที่เรียกกันว่า "กริ่งปทุมสุริวงศ์" พร้อมตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ทรงเห็นว่าพระกริ่งนั้นดีมีมงคล หากจะสร้างขึ้นตามตำรา แต่ดัดแปลงพุทธลักษณะที่คล้ายเทวรูปในคตินิยมแบบมหายาน ให้มีพุทธลักษณะคตินิยมแบบหินยานก็น่าจะมีเอกลักษณ์ดี

อีกทั้งเมื่อมีการขยับพระพุทธชินสีห์คราวสร้างฐานชุกชีนั้น พบว่ามีเนื้อฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดจึงโปรดให้ช่างตัดแต่งให้งามดุจเดิม และเนื้อฐานพระพุทธชินสีห์นั้นเองล่ะกระมังที่เป็นแรงบันดาลใจ เมื่อทรงได้ตำราสร้างพระกริ่งและตำราโลหะมงคลมา จึงได้นำโลหะที่เหลือจากการแต่งฐานพระพุทธชินสีห์มาใช้ เพราะนานไปเศษโลหะนั้นจะไม่มีผู้รู้ค่าว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์จะถูกทิ้งเสียเปล่า

พระองศ์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ทรงดำรัสถึงเรื่องพระต้นแบบพระกริ่งปวเรศเป็นความว่า "ฉันเห็นหม้อน้ำมนต์ของวัดบวรนิเวศวิหาร ฉันได้เอาแว่นขยายส่องดู จึงแน่ใจว่าเป็นพระกริ่งใหญ่(พระกริ่งจีน) หรือที่เรียกกันว่าปทุมสุริวงศ์ อันน่าจะได้รับถวายมาจากราชวงศ์นโรดมกัมพูชา? สำหรับพระกริ่งใหญ่หรือพระกริ่งปทุมสุริวงศ์นี้ เป็นพระกริ่งของจีนโบราณสมัยหมิง ได้แพร่หลายเข้ามานานแล้ว แต่ที่พบจะมาพร้อมพระกริ่งบาเก็ง ซึ่งศิลปะสกุลช่างจีนเช่นเดียวกันแต่พบที่ปราสาทบาแคงที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมบาแคง

ท่านอาจารย์ตรียัมปวาย ได้กล่าวถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศไว้ดังนี้ "พระกริ่งปวเรศที่คนโบราณเขานิยมกันนั้น มีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ เมื่อขัดเนื้อในจะเป็นสีจำปาเทศ และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศก็จะกลับดำอีกครั้งหนึ่งในเวลาไม่นาน การอุดก้นนั้นพบสองลักษณะ คืออุดด้วยทองแดง และอุดด้วยฝาบาตร มีเครื่องหมายลับไว้กันปลอมแปลงด้วยแต่เป็นกริ่งที่หายาก และมีผู้เจนจัดชนิดชี้เป็นชี้ตายได้น้อยแทบไม่มีเลย นอกจากจะมีองค์ที่เป็นองค์ครูแล้วนำเอาองค์อื่นมาเทียบเคียงเท่านั้น"

พระกริ่งสายวัดสุทัศน์
พระกริ่งวัดสุทัศนนั้นเนื่องจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระวันรัต(แดง) พระอุปัชฌาย์อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเคยรักษาผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคให้หายได้ ด้วยการอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ แล้วโปรดให้น้ำนั้นแก่ผู้ป่วยดื่ม ปรากฏว่าหายอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้วก็อาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำน้ำพระพุทธมนต์ประทานแก่ สมเด็จพระวันรัต(แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ (คือนำพระกริ่งปวเรศ มาทำน้ำพระพุทธมนต์)
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวรารามได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัย และทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้าง จนเจนจบ เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อ ในฐานะประธานการหล่อพระกริ่งเสมอมา

ตำนานความเป็นมาของพระกริ่งและ พระชัยวัฒน์ "คำว่ากริ่ง" นี้ หมายความว่ากระไร สมเด็จฯ (สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล) คือ เมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว

มูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้างพระกริ่งและ พระชัยวัฒน์นั้น มีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ทรงเล่าว่าเมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯเสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศแต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่ น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้ว โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ ส่วนจะเป็นพระกริ่งสมัยไหนพระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้

พระกริ่งสายวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
ยังมีพระกริ่งอีกสายหนึ่ง ซึ่งคงความเข้มข้นด้านเนื้อหาและประวัติการสร้างพระจากตำรับโบราณ คือ พระกริ่งสายวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ซึ่งสร้างในสมัยพระพุฒาจารย์ เอนกสถานปรีชา ฯ (มา) สมัยรัชกาลที่ ๕

พระพุฒาจารย์ เดิมชื่อ มา ชื่อ อินทร์สร ในพระพุทธศาสนา เกิดในสกุลอุบาสกใจบุญ โยมผู้ชายชื่อ ทองอยู่ โยมผู้หญิงชื่อ แช่ม พระพุฒาจารย์เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๓๘๐ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกานพศก (จุลศักราช ๑๑๙๙) ณ ตำบลบ้านเขาแหลม อำเภอสำเพ็ง กรุงเทพฯ ครั้นพระพุทธศักราช ๒๔๐๔  ตรงกับปีระกา ตรีศก (จุลศักราช ๑๒๒๓) ท่านมีชนมายุได้ ๒๕ ปี จึงอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส

และวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับ ณ วันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) เวลา ๑๐ ทุ่ม ๓๐ นาที ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ มีชนมายุ ๗๘ ปี กับ ๑ เดือน ๒๒ วัน มีพรรษาได้ ๕๒ พรรษา

การสร้างพระกริ่งของท่านเจ้ามานั้น มีการสร้างพระกริ่งและขนาดเล็ก (พระชัยวัฒน์) ซึ่งหล่อไว้ในราวอายุใกล้เคียงกับสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์วราราม ซึ่งถ่ายทอดวิชาความรู้ตำรับการสร้างพระกริ่งระหว่างกันและกัน

พระกริ่งล้มลุก
เป็นพระกริ่งที่มีชื่อเสียงอันดับ ๑ แห่งวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ซึ่งองค์พระมีขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มาก ลักษณะองค์พระกริ่งนั่งขัดสมาธิเพชร ประทับบนดอกบัว ส่วนฐานถูกตะไบให้มีกลม เนื่องจากเป็นการหล่อพระแบบโบราณ ช่างจึงตะไบที่ฐานเพื่อลบเศษโลหะที่ไม่ต้องการออก เลยทำให้เป็นฐานกลม เหมือนตุ๊กตาล้มลุก อีกทั้งชื่อยังพ้องกับ ล้มแล้วลุก จึงเป็นที่ใฝ่หาของบรรดาลูกศิษย์มาก

พระกริ่งไตริฏก หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ

ลักษณะที่ดีของพระกริ่ง
พระกริ่งที่มีลักษณะดี ต้องมีเสียงเขย่าแล้วดังกังวาน ถ้าไม่ดัง เขานิยมเรียกกันว่า "พระกริ่งใบ้" ผิวโลหะเป็นมันวาว สีดำสนิด และขัดถูด้วยมือจะเห็นเป็นสีเงินยวง สักพักผิวจะกลับดำ และเนื้อโลหะต้องตึง ไม่มีรูตามด

การบรรจุกริ่งเข้าไป ทำได้หลายวิธี ต่างสำนักก็ต่างวิธี แต่ที่สุดยอดต้องยกให้ของวัดสุทัศน์อีกเช่นกัน ทำการอุดกริ่งด้วยการไม่เห็นความแตกต่างของเนื้อโลหะ และอุดกรุ่งตรงสะโพกเท่านั้น

พระกริ่งบางสำนักก็อุดที่ฐาน อุดสะโพก หรือแม้กระทั่งคว้านก้นให้เป็นรูแล้วหาแผ่นมาปิด ก็แล้วแต่จะทำกัน

การหล่อโลหะก็สำคัญ บางแห่งทำจากโรงงาน บางแห่งหล่อแบบโบราณตามตำรับ บางแห่งใช้โลหะปั๊มขึ้นรูป ก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการสร้างพระกับเจตนา ต่างกันอย่างไร แต่เขาจะให้เกียรติการหล่อโบราณให้เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งการหล่อแบบโบราณคือ การหล่อพระและหุ้มดินขี้วัว ตอกทอย และมัดด้วยลวด ซึ่งมีกระบวนการยุ่งยากและซับซ้อน มีการหล่อแบบเป็นช่อ หล่อแบบลอยตัว (เรียกว่าเบ้าทุบ)

ข้อมูลโดย http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9607687/K9607687.html

รายการพระกริ่ง

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง

ประวัติและที่มาของพระกริ่ง



พระเครื่องยอดนิยม วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ โชคลาภค้าขาย

โทรศัพท์ : 092 315 5565